สรุปผลงานนักกีฬาในเขตภาคเหนือ (รายจังหวัด)ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 “นครสวรรค์เกมส์” ณ จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 3 เมษายน 2566
1 จ.เชียงใหม่ (อันดับ 3) นักกีฬาเยาวชน จ.เชียงใหม่ทำเหรียญเป็นกอบเป็นกำจาก กีฬาเรือพาย 28 ทอง 8 เงิน 5 ทองแดง รองลงมาคือกีฬายิงปืน 7 ทอง 5 เงิน 2 ทองแดง กีฬาโรลเลอร์สกี 4 ทอง 5 เงิน 5 ทองแดง กีฬาจักรยาน 3 ทอง กีฬาเอ็กซ์สตรีม 2 ทอง 3 เงิน 2 ทองแดง กีฬาเพาะกาย 2 ทอง 3 เงิน 2 แดง โดย เทควันโด้ ฟิกเกอร์สเกตยกน้ำหนัก ได้มาชนิดกีฬาละ1 เหรียญทอง
ส่วนกีฬาประเภททีม ที่โดดเด่นคือ กีฬาคริกเกตที่คว้าทองได้ทั้งทีมชายและทีมหญิง บาสเกตบอลทีมชายก็ไม่ธรรมดาเข้าชิงแต่พลาดเหรียญทองให้กับ กทม.
2 จ.กำแพงเพชร (อันดับ 26 ) กีฬาบริดจ์ คือชนิดกีฬาที่นักกีฬาเยาวชน จ.กำแพงเพชรทำได้เป็นหลัก โดยทำได้ 4 ทอง 1 เงิน รองลงมาคือ ซอฟท์เทนนิส ที่ทำได้ 3 ทอง 1 เงิน
3 จ.พิษณุโลก (อันดับ 28 ) กีฬามวยสากลสมัครเล่น คือชนิดกีฬาที่นักกีฬาเยาวชน จ.พิษณุโลก ทำได้เป็นหลัก โดยทำได้ 3 ทอง 3 เงิน 5 ทองแดง รองลงมาคือกีฬาจักรยาน 1 ทอง 3 เงิน 2 ทองแดง และ กีฬาเทควันโด้ กับ กีฬายูโด ที่ต่างก็ได้ 1 ทอง 1 เงิน 2 ทองแดง เหมือนกัน
4 จ.ลำพูน (อันดับ 29 ) กีฬาเพาะกาย คือชนิดกีฬาที่นักกีฬาเยาวชน จ.ลำพูน ทำได้เป็นหลัก โดยทำได้ 4 ทอง 1 เงิน 1 ทองแดง รองลงมาคือ ยูยิตสู 1 ทอง 2 ทองแดง มวยไทยสมัครเล่น 1 ทอง 1 ทองแดง ส่วน 2 ชนิดกีฬาที่เคยเป็นชนิดกีฬาหลักที่ทำเหรียญทอง อย่าง เทควันโด้ ครั้งนี้ทำได้เพียง 2 เงิน 2 ทองแดง และอีกชนิดกีฬา คือเรือพาย ที่ทำได้ 3 เหรียญเงิน
5 จ.น่าน (อันดับ 30 ) กีฬามวยปล้ำ คือชนิดกีฬาที่นักกีฬาเยาวชน จ.น่าน ทำได้เป็นหลัก โดยทำได้ 2 ทอง 4 เงิน 9 ทองแดง โดยกีฬาเพาะกาย ซอฟท์เทนนิส มวยสากลสมัครเล่น ได้มาชนิดละ 1 ทอง ที่น่าจับตามองคือ ฐิติรัตน์ อินไชย นักกีฬาว่ายน้ำที่ทำได้ 1 ทอง 1 เงิน จากท่ากบ 50 M และ 100 M
6 จ. สุโขทัย (อันดับ 31 ) กีฬาคาราเต้โด้ คือชนิดกีฬาที่นักกีฬาเยาวชน จ.สุโขทัย โดย 6 เหรียญทองที่ได้ มาจาก กีฬาชนิดนี้ล้วนๆ และ ยังได้อีก 2 เงิน 6 ทองแดง
7 จ.อุตรดิตถ์ (อันดับ 34) กีฬาคาราเต้โด้ คือชนิดกีฬาที่นักกีฬาเยาวชน จ.อุตรดิตถ์ ทำได้เป็นหลัก เหมือนกับ จ.สุโขทัย โดยทำได้ 3 ทอง 4 ทองแดง รองลงมาคือ กีฬามวยปล้ำ ทำได้ 1 ทอง 4 ทองแดง และ กีฬาวูซูยุทธลีลา 1 ทอง 1 เงิน 2 ทองแดง
8 จ.เพชรบูรณ์ (อันดับ 50) จ.เพชรบูรณ์แม้จะได้เพียงสามเหรียญทอง แต่หนึ่งในนั้นเป็นเหรียญทองที่ทรงคุณค่า คือ เหรียญทองจากกีฬาฟุตบอลประเภททีมชาย ส่วนกีฬาประเภททีมอีกชนิดที่ทำได้ดีคือ ฟุตซอลหญิงที่ได้เหรียญทองแดง
9 จ.พะเยา (อันดับ 54 ) จ.พะเยา ได้สองทองจาก พงษ์สุรเชษฐ์ วงศ์ไชย นักกรีฑา ในรายการวิ่ง 1,500 เมตร และ วิ่งวิบาก 2,000 เมตร และอีกชนิดกีฬาที่เด่นคือ ยูยิตสู 3 เงิน 1 ทองแดง
10 จ.ตาก (อันดับ 56) จ.ตาก ได้สองทองจาก กรีฑา และมวยไทยสมัครเล่น โดยกรีฑา เป็นชนิดกีฬาที่ จ.ตากทำผลงานได้ดี คือได้ ทองจาก กชกร หามาจ้ำ รายการ ขว้างค้อนหญิง และ อีก 2 เงิน กับ 1 ทองแดง จาก อนุชา พาดา จากรายการวิ่งระยะไกล
11 จ.ลำปาง (อันดับ 63) จ.ลำปาง ได้ 1 ทองจาก สัพพัญญ กาละ นักกีฬายูโด โดยกีฬาชนิดอื่นที่แม้จะไม่ได้ทอง แต่มีผลงานเด่น ได้แก่ ยูยิตสู 3 เงิน 4 เงิน , กรีฑา ได้ 2 เงิน 4 ทองแดง และ มวยไทยสมัครเล่น 2 เงิน 2 ทองแดง ส่วนกีฬาประเภททีมก็คือ ทีมฟุตบอลหญิงที่ได้ ทองแดง
12 จ.เชียงราย (อันดับ 64) จ.เชียงราย ชนิดกีฬาที่เด่นคือ ยูยิตสู โดยได้ 1 ทอง จาก ศศิธร ยาหยี และ 2 เงิน 8 ทองแดง
13 จ.แพร่ (อันดับ69) จ.แพร่ ได้ 1 ทอง จาก เทควันโด้พุ่มเซ ทีมหญิง เบญญทิพย์ นาเวียง ศศิชญาณ์ แก้วประเสริฐ และ ชนิกานต์ ชิโนทัย และเทควันโด้พุ่มเซ ได้อีก 2 ทองแดง ส่วน อีกชนิดกีฬาที่เด่นคือ มวยปล้ำ ที่ได้ 1 เงิน 4 ทองแดง
14 จ.พิจิตร (อันดับ 73) จ.พิจิตร เป็นหนึ่งในสองจังหวัดของโซนเหนือที่ไม่ได้เหรียญทอง ได้ 3 เงิน จาก คาราเต้โด้ 2 เหรียญ และ ซอฟท์เทนนิส 1 เหรียญ โดย ซอฟท์เทนนิสได้อีก 4 ทองแดง ส่วนกีฬาประเภททีมที่ได้เหรียญคือ ตะกร้อชายหาด ทีมเดี่ยวชาย ได้เหรียญทองแดง
15 จ.แม่ฮ่องสอน (อันดับ 75) จ.แม่ฮ่องสอน เป็นหนึ่งในสองจังหวัดของโซนเหนือที่ไม่ได้เหรียญทอง โดยชนิดกีฬาที่ยังโดดเด่นมาตลอดคือ ตะกร้อลอดห่วงที่ทีมชายได้เหรียญเงิน ทีมหญิงได้เหรียญทองแดง รวมถึง ปันจักสีลัต และเรือพาย