fbpx

ฮิมต๋ายฮิมยัง :  ถังแตกหรืออะไรกันแน่ ?

บ้านเราตอนนี้ก็เตรียมเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการครับ กรมอุตุนิยมวิทยา เพิ่งออกประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนในวันที่ 5 มีนาคมนี้ อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 35 องศาขึ้นไป คาดสิ้นสุดช่วงกลางเดือน พฤษภาคม

จริง ๆ เราก็ซ้อมความรู้สึกฤดูร้อนกันมาหลายอาทิตย์แล้ว แม้ว่าตอนดึกต่อเช้ามืด ยังคงมีความเย็นให้ได้รู้สึก แต่ตอนกลางวัน ร้อนมาก ร้อนน้อย ต่างกันไปในแต่ละวัน แต่เฉลี่ย ๆ แล้ว ถือว่าร้อนครับ

แน่นอนว่า อากาศก็ร้อน ยังมีหลายเรื่อง ร้อน ๆ ผสมโรงเข้ากับสภาพอากาศ โดยเฉพาะเรื่องในวงการฟุตบอลบ้านเรา

หนีไปไหนไม่พ้นคือเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ร้อนสุด ณ วันนี้คงเป็นเรื่องของเงินอุดหนุนให้กับฟุตบอลลีกอาชีพบ้านเรา

อย่างที่เคยเขียนถึงไปแล้ว เมื่อเงินอุดหนุนงวดแรกที่ทางไทยลีก โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดสรรให้มาแล้วงวดแรกก่อนหน้านี้ ไล่ตั้งแต่ 7.5 หมื่นบาท สำหรับไทยลีก 3 ไทยลีก 2 ได้ไป 2.25 แสนบาท และไทยลีก 1 ได้ไป 1.5 ล้านบาท

ทั้งที่เงินอุดหนุนที่ทางไทยลีกโดยสมาคมฯ เคยให้ในตัวเลขที่สูงกว่านี้อยู่มากโข

จนในห้วงเวลาที่ผ่านมา เงินอุดหนุนงวดที่ 2 ที่ทางไทยลีกโดยสมาคมฯ ได้ประกาศออกมา ทำให้อุณภูมิอากาศที่ร้อนระอุอยู่ตอนนี้ เพิ่มดีกรีความร้อนขึ้นไปอีกโดยเฉพาะคนทำทีมในลีกล่าง

เพราะมติสภากรรมการนั้นบอกว่า ปีนี้เงินอุดหนุนรับไปแค่ครึ่งเดียวก็พอแล้ว เพราะรายจ่ายสมาคมมันเยอะ และเหนือความคาดหมาย

ผมเอาตัวเลขมาให้ดูก่อนครับ ไทยลีก 1: สโมสรฯ ละ  4,250,00.- บาท จำนวน 16 สโมสร รวมเป็นเงิน 68,000,000.-บาท 

ไทยลีก 2: สโมสรฯ ละ 637,500.- บาท จำนวน  18 สโมสร รวมเป็นเงิน 11,475,000.- บาท  

ไทยลีก 3: สโมสรฯ ละ 212,500.- บาท จำนวน  76 สโมสร รวมเป็นเงิน 16,150,000.- บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 95,625,000.- บาท สำหรับฤดูกาล 2022/23

เห็นตัวเลขแล้วน้ำตาจะไหล มีข้อความที่ยกเหตุผลมาต่อในประกาศดังนี้ครับ

“ทั้งนี้ เป็นไปตามมติของสภากรรมการ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เนื่องจาก สมาคมฯ ต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์

ซึ่งเป็นส่วนที่นอกเหนือจากงบประมาณ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อให้การแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพทุกระดับ ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องตามปฏิทิน

ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการ ให้ทันต่อสถานการณ์ทันทีโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

แม้ สมาคมฯ จะบริหารจัดการเรื่องเงินสนับสนุน การชำระค่าสิทธิประโยชน์จากผู้สนับสนุน และค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ 

สภากรรมการจึงมีมติอนุมัติจ่ายเงินสนับสนุน 50 เปอร์เซ็นต์ ของเงินสนับสนุนแบบให้เปล่า ประจำฤดูกาล 2565-2566

ทั้งนี้ หากสมาคมฯ มีรายได้จากผู้สนับสนุนมากเพียงพอ นอกเหนือจากการดำเนินกิจกรรมฟุตบอลต่างๆ ก็จะนำเรื่องเข้าสู่สภากรรมการพิจารณา เพื่อขอชดเชยย้อนหลังต่อไป”

เป็นไงครับ รายจ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์ แน่ชัดว่ารายจ่ายนี้ก้อนใหญ่คือการจ่ายเงินชดเชยให้กับ อีสาน ยูไนเต็ด เหตุจากการแพ้คดีความ แต่ด้วยตัวเลขในหลัก 30 ล้าน ไม่น่าทำให้เหนือความคาดหมายไปจนทำให้เงินอุดหนุนเหลือแค่ 50 เปอร์เซ็นต์

แต่สิ่งที่เราไม่เคยเห็นจริง ๆ คือ รายรับ-รายจ่าย ที่สมาคมนำมาใช้อ้างว่า “ขาดสภาพคล่อง” นั้นมันมีรายการอะไรบ้าง จนถึงขนาด “ถังแตก”

ผมเห็นคลิปการให้สัมภาษณ์สื่อของนายกสมาคมฯ ในวันที่เดินทางไปส่งนักฟุตบอลทีมชาติหญิงไปชิงตั๋วฟุตบอลโลกหญิงที่ประเทศนิวซีแลนด์ จับใจความได้ว่า เงินที่ได้ ไม่ใช่ได้มาแล้วกระจายให้แต่ละทีม มีรายจ่ายอื่น ๆ เช่นค่าจ้างผู้ตัดสิน ที่ท่านยกเป็นผลงานเด่น ที่ไม่ค้างเงินให้กับผู้ตัดสินเลย ไม่เหมือนผู้บริหารยุคก่อน

จะว่าไปก็เป็นเรื่องดี ที่ผู้ตัดสินได้เงิน ไม่มีตกค้าง แต่องค์ประกอบอื่น ๆ ท่านแสดงให้เห็นหรือยังว่าท่านได้ใช้ความพยายามหารายได้เพื่อมาจุนเจือฟันเฟืองอื่น ๆ ในระบบฟุตบอลอาชีพให้สามารถเดินต่อไปได้

สิ่งเหล่านี้คือฝีมือในการบริหารครับ ซึ่งทุกคนที่เกี่ยวข้องต่างก็คาดหวังว่าจะได้เห็นจากการบริหารงาน แต่จนถึงตอนนี้ สิ่งที่คาดหวังก็ดูเลือนลางเต็มที

รายรับของไทยลีก แน่นอนว่ามาจากสิทธิประโยชน์ต่าง อันมีผู้สนับสนุน ลิขสิทธิ์การถ่ายทอด ลิขสิทธิ์จากการตลาดในทุกรูปแบบ รวมมาเป็นรายได้ของไทยลีก

นี่ยังไม่รวมบรรดาเงินที่ได้จาก “ค่าปรับ” ซึ่งตาม “ระเบียบว่าด้วยการลงโทษวินัย มารยาท สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ” ได้อธิบายถึงการลงโทษในกรณีที่มีการกระทำผิด มีระวางอัตราโทษ ทั้งเป็นการห้ามทำหน้าที่ และมีการปรับเงิน

ซึ่งต้องถือว่านี่คือ “รายได้หนึ่ง” ของไทยลีก ซึ่งเราต่างก็ได้เห็นประกาศบทลงโทษกันอยู่เนือง ๆ อย่างกรณีล่าสุดที่มีการประกาศลงโทษ “ลำพูน วอริเออร์” และ “เชียงใหม่ ยูไนเต็ด” ด้วยการลงโทษปรับเงินรวมเกือบ 1 แสนบาท หลังสภาพสนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไม่สมบูรณ์ผิดกฎระเบียบไทยลีก

ตามข้อ 5.1.8 พื้นสนามที่ใช้แข่งขันไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ พื้นสนามแข็งมาก หรือไม่เรียบ หรือมีหญ้าปกคลุมไม่ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณเขตโทษหรือเขตประตู หรือเส้นแสดงเขตต่าง ๆ ไม่ชัดเจน แต่ละกรณีมีโทษดังนี้

ครั้งแรกปรับ 50,000 บาท

ครั้งที่สองห้ามใช้แข่งขันชั่วคราว

ครั้งที่สามห้ามใช้ตลอดฤดูกาล

หากนำไปรวมกับกรณีอื่น ๆ ที่ได้ปรับเงินจากการทำผิดระเบียบการแข่งขัน ทั้งที่เป็นของ องค์กรสมาชิก นักกีฬา เจ้าหน้าที่ทีม กองเชียร์ ก็ถือเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

เครดิตภาพ : https://www.siamsport.co.th/football-thailand

by TTDad

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า